Last updated: 17 ก.ย. 2567 | 231 จำนวนผู้เข้าชม |
เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ คัดเลือกนำศึกษา มทร.อีสาน เป็นนักศึกษาสหกิจศึกษา ตำแหน่ง Warehouse Logistics Officer, Process Technician และ Process Quality Inspector ภายใต้ MOU ความร่วมมือทางวิชาการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาด้านแบตเตอรี่ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อผลิตบุคลากรให้ตรงความต้องการทั้งภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมด้านแบตเตอรี่ระดับโลก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน (มทร.อีสาน) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชูชัย ต.ศิริวัฒนา ที่ปรึกษามหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนก เจริญภักดี รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์นัฐวุฒิ ทิพย์โยธา รองอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมและพัฒนากิจการมหาวิทยาลัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ระบิล พ้นภัย ผู้ช่วยอธิการบดี, อาจารย์ ดร.ประจวบ อินระวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ไฟฟ้า และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านยานยนต์ไฟฟ้า ต้อนรับ คณะผู้บริหารจากบริษัท เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด นำโดยนายเกริกชัย ชะวะนะเวช Project Administrator Supervisor, นางสาวมนัสนันท์ ศรีสุภาพ HR Specialist, นายธนวัฒน์ บุญประดิษฐ์ Operation and Service Director และ MR.GAO JUNWEI General Manager ในโอกาสคัดเลือกนักศึกษาเพื่อสหกิจศึกษา ประจำปีการศึกษา 2567 ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อผลิตบุคลากรให้ตรงความต้องการทั้งภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมด้านแบตเตอรี่ระดับโลก เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567
ในการนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดี มทร.อีสาน ได้นำคณะผู้บริหารทั้งสองฝ่ายหารือแนวทางเพื่อยกระดับการสร้างและพัฒนากำลังคนด้านยานยนต์ไฟฟ้า ตอบโจทย์ความต้องการภาคอุตสาหกรรม และรองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในทุกมิติ จากนั้นได้กล่าวให้โอวาทและกำลังใจนักศึกษาจำนวน 22 คน จากคณะบริหารธุรกิจ และคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความพร้อมและความสนใจด้านยานยนต์ไฟฟ้าก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์ เพื่อคัดเลือกเป็นนักศึกษาสหกิจศึกษา ณ บริษัท เอส โวลต์ เอเนอร์จี้ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ในตำแหน่ง Warehouse Logistics Officer, Process Technician และ Process Quality Inspector ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ร่วมพัฒนาหลักสูตรการศึกษาด้านแบตเตอรี่ รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง และนวัตกรรมแบตเตอรี่ เพื่อสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยฯ สามารถผลิตบุคลากรตรงตามความต้องการของบริษัทฯ และภาคอุตสาหกรรมแบตเตอรี่มาตรฐานระดับโลก เพื่อเร่งการขับเคลื่อนและพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าอย่างเป็นรูปธรรม และเกิดความยั่งยืนในประเทศไทย
ที่มา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
13 ต.ค. 2567